หน้าแรก

ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นักลงทุน คือ ความเสี่ยง

นักลงทุน คือ ความเสี่ยง

การลงทุนคือความเสี่ยง นี่คือคำตอบ ของเสียงส่วนใหญ่ของผู้อยู่นอกตลาด และนอกการลงทุน เป็นเสียงของผู้ต้องการความมั่นคง แต่เป็นความมั่นคงของรายได้ประจำ หรือรายได้จากการฝากเงินไว้กับธนาคาร ผู้ให้ดอกเบี้ย ต่ำกว่าเงินเฟ้อตลอด (ไม่ว่าจะดอกเบี้ยสูงเพียงใด ก็ยังต่ำกว่าเงินเฟ้อเสมอ ไม่งั้นธนาคารจะอยู่ได้อย่างไร จริงมั้ยครับ) ซึ่งเป็นสิ่งกัดกร่อนมูลค่าเงินของพวกเรา

การลงทุนคือความเสี่ยง ซึ่งจริงๆแล้ว การลงทุนไม่ใช่ความเสี่ยง แต่ที่สิ่งเสี่ยงเอง คือตัวนักลงทุน เนื่องจากนักลงทุนบางคน ลงทุนแบบนักพนัน แบบนักเก็งกำไร ลงทุนแบบที่คิดว่าตัวเองเป็นนักลงทุน เพราะมองว่าตัวเองลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ถือว่าเป็นการลงทุน แต่อย่าลืมว่า หลักทรัพย์ ไม่ใช่สินทรัพย์ เนื่องจาก หลักทรัพย์ที่ลงทุน อาจจะก่อให้เกิดสินทรัพย์ ก็ได้ ถ้าหากเราลงทุนและได้ผลตอบแทนออกมา แต่หลักทรัพย์ ก็ยังเป็นได้ทั้งหนี้สิน ที่เราลงทุนในหลักทรัพย์แล้ว เราขาดทุนออกมา นี่แหละเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วๆ ไปไม่เข้าใจ

การขาดเงินทุนทรัพย์ไม่ใช่สิ่งสำคัญ เท่ากับ การขาดเวลาในการศึกษาการลงทุน นักลงทุนที่คิดว่าตัวเองมีเวลาในการลงทุน โดยจดๆ จ้องๆ หน้าจอ ผ่านการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละวัน ในแต่ละชั่วโมง หรือแม้แต่ ในแต่ละวินาที ก็จะเป็นความเสี่ยงของตัวนักลงทุนเอง ซึ่งพวกเราต้องอย่าลืมว่า เราสามารถนำเวลาในการมอนิเตอร์หน้าจอ หันไปศึกษาข้อมูลการลงทุน เพื่อรอโอกาสในการลงทุน นั่นแหละคือความไม่เสี่ยง ในการลงทุน

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ตอนที่ 1

เริ่มต้นกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ตอนที่ 1

Value ของกลุ่มพลังงานจะอยู่ประมาณ 80% ของตลาดหุ้นในประเทศไทย ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น
1. น้ำมัน  ยังแบ่งออกเป็น
  • ต้นน้ำ = สำรวจและค้นหา( pttep เจ้าเดียว )
  • ผลิต = โรงกลั่น ( top, irpc, bcp, esso ฯลฯ ) 
    การกลั่นยังแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ โรงกลั่นแบบธรรมดา ( bcp ) กับ โรงกลั่นแบบ complex ( top ) ซึ่งการกลั่นแบบ complex จะสามารถกลั่นน้ำมันดิบ มาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปได้มากกว่า เนื่องจากสามารถนำกากที่เหลือมากลั่นเพิ่มได้ จึงทำให้ยอดผลผลิตสูงกว่า
ค่า spread  คือ ราคาขายน้ำมันหน้าร้าน - ราคาต้นทุนน้ำมันดิบ

ค่าการกลั่น คือ ค่ากำไรของการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูป ยิ่งสูง (ได้จำนวนเยอะๆ ) แสดงว่ากำไรยิ่งสูง


2.ถ่านหิน ยังแบ่งออกเป็น
  • มีเหมืองของตัวเอง = banpu , lanna
  • นำเข้าเป็นหลัก = age, earth, ums
ไม่่ค่อยมีตลาดซื้อล่วงหน้า ดังนั้นจะเป็นลักษณะซื้อขายระยะยาว

3. กลุ่มแปรรูป เช่น gunkul ,ai





4. พวกสาธารณูปโภค เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า , น้ำประปา



ใช้ DCF กับ EBITDA ในการเลือกหุ้น และวิเคราะห์มูลค่า

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Nim = Net interest margin ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ กับ หุ้นธนาคาร

Nim = Net interest margin ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ กับ หุ้นธนาคาร

รายได้หลักของธนาคาร คือ Nim = Net interest margin = ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ
ธนาคาไหนมีเยอะ แสดงว่ากำไรน่าจะสูง เท่ากับปล่อยสินเชื่อสูง แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าสินเชื่อที่ปล่อยเป็นการให้สำหรับลูกค้าชั้นดีหรือไม่

และการปล่อยสินเชื่อจะ peek มากๆ ในไตรมาส 4 เนื่องจากช่วงนั้นจะเป็นช่วง build การปล่อยสินเชื่อเพื่อเร่งผลิต เร่งยอดขาย ของแต่ละอุตสาหกรรมสำหรับปีหน้า ดังนั้นการเลือกหุ้นธนาคารในช่วงนั้นก็น่าสนใจ และแถมปลายปี (ปลายปีจริงๆ แถวๆ เกือบๆ ปีใหม่) ช่วงนั้นยังมีเงินลงทุนพวกกองทุน LTF ,RTF เข้ามาอีก ยิ่งทำให้น่าสนใจสำหรับการลงทุนในกลุ่มนี้

ซึ่งรายได้อีกส่วนหนึ่งของธนาคารก็คือเรื่องค่าธรรมเนียม ซึ่งเราสามารถตัดเรื่องค่าธรรมเนียมไปได้เลย เพราะเป็นส่วนที่น้อยนิด แต่ยกเว้นค่าธรรมเนียมประกันที่​ธนาคารเป็นคนขาย เนื่องจากจะได้เรื่อยๆ

ดังนั้นเลือกหุ้นธนาคาร ควรเลือกหุ้นที่ปล่อยสินเชื่อเย​อะยิ่งดี คิดแบบดีถูกป่าว?

ศึกษาดุลการชำระเงิน

ศึกษาดุลการชำระเงิน
ดุลการชำระเงิน = ดุลที่เงินไหลเข้าประเทศ ยิ่งเป็น + = แสดงว่าเงินต่างประเทศไหลเข้า ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งกระทบการส่งออก ดังนั้นการเลือกหุ้นส่งออกควรที่จะดูงบดุลระดับมหภาคด้วย

ดุลการชำระเงิน = บัญชีเดินสะพัด + บัญชีเงินโอน/รับบริจาค + บัญชีทุน

บัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า(=ส่งออก - นำเข้า) + ดุลบริการ(=การท่องเที่ยว) *สำคัญมากเพราะเป็นบัญชีที่ใหญ่ที่สุดในการชำระเงิน ถ้าหากเป็น + แสดงว่าค่าเงินจะแข็ง

บัญชีเงินโอน/รับบริจาค = บริษัทต่างประเทศที่ลงทุนในต่างประเทศ และโอนปันผลให้บริษัทแม่ ทำให้ยอดเงินเข้าประเทศที่เป็นประเทศแม่

ซึ่งแน่นอนถ้าหากเรื่องดุลการชำระเงินของประเทศไหนเป็นบวกมากๆ ก็ย่อมทำให้อีกประเทศต้องขาดดุลการชำระเงิน ตัวอย่างเช่น อเมริกา กรีซ และยุโรปที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่ขาดดุลการชำระเงิน และประเทศที่ดุลการชำระเงินที่เห็นได้ชัดคือ จีน ซึ่งทางประเทศธุรกิจก็ยังเน้นการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีการตรึงค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า ซึ่งขัดกลับหลักที่ว่า เพราะจีนได้ประโยชน์จากการส่งออกเป็นจำนวนมาก และยังได้เปรียบจากค่าเงินอีก ดังนั้นจึงเป็นที่มาให้ประเทศฝั่งยุโรปกดดันให้จีนแข็งค่าเงินหยวน เพื่อให้เป็นไปตามกลไกของค่าเงิน

ดังนั้นการลงทุนควรจะมองระดับมหภาคด้วยนะครับ

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของ Ratio ที่สำคัญๆ

ความหมายของ Ratio ที่สำคัญๆ

1]current ratio(อัตราส่วนทุนหมุนเวียน)=ทรัพย์สินหมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
=ใช้เพื่อดูความคล่องตัวทางการเงินของบริษัท ค่ายิ่งมากยิ่งดี ถ้าค่าที่ได้น้อยกว่า1 แสดงว่ามีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน

2]quick ratio(อัตราส่วนหมุนเร็ว)=(เงินสด+เงินลงทุนระยะสั้น+ลูกหนี้การค้า)/หนี้สินหมุนเวียน
=ใช้เพื่อดูสภาพคล่องทางการเงินเหมือนcurrent ratioแต่จะเข้มข้นกว่าเพราะไม่ได้เอาสินค้าคงเหลือมารวมด้วย เพราะบางบริษัทอาจมีสินค้าคงเหลือจำนวนมากที่ตกรุ่น กว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้กินเวลานานหรือไม่ได้ราคา

3]account receivable turnover(อัตราการหมุนของลูกหนี้)= 2*ยอดขาย/(ลูกหนี้การค้าต้นงวด+ลูกหนี้การปลาย)
=ค่ายิ่งมากยิ่งดี เป็นการดูว่างวดบัญชีหนึ่งๆยอดขายที่เห็นเป็นการจ่ายหนี้ทั้งหมดกี่รอบ

4]days receive(ระยะเวลาเก็บหนี้)=365/อัตราการหมุนของลูกหนี้
=ใช้คู่กับaccount receivable turnoverเพื่อดูการบริหารลูกหนี้ของบริษัท ควรดูนโยบายของบรษัทก่อนว่าอุตสาหกรรมแบบนี้ควรให้เครดิตลูกหนี้กี่วัน แล้วลองเอามาดูกับบริษัทที่เราสนใจ เช่น คู่แข่งกับเรายอดขายเท่าๆกัน แต่คู่แข่งให้เครดิต30วัน เราให้90วัน กว่าเราจะได้เก็บหนี้ก็คางเหลืองพอดี

5]inventory turnnover(อัตรการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ)=2*ต้นทุนการขาย/(สินค้าคงเหลือ ต้นงวด+สินค้าคงเหลือปลายงวด)
=
5.1)เป็นการดูว่าอัตรการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือเป็นอย่างไร สินค้าได้รับความนิยมแค่ไหน ถ้าค่านี้มากแสดงว่าบริษัทมีการหมุนเวียนของสต๊อกสินค้าเร็วสั่งวัถุดิบเข้า มาก็แปรรูปขายไปหมด ต้องสั่งlotใหม่เรื่อยๆ ค่าของinventory turnnoverจะบอกว่างวดบัญชีที่ศึกษามีการหมุนเวียนของสินค้ากี่รอบ (แต่ควรจะเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น พวกอสังหากว่าจะปลูกบ้านจนขาย อาจใช้เวลา1-2ปี แต่พวกอาหารอาจใช้เวลาน้อยกว่ามาก รอบจึงอาจจะถี่กว่า)

5.2)ถ้าเป็นค่าต่ำๆ(ต่ำกว่า1ลงมา)แสดงว่ามีการสต๊อกวัตถุดิบไว้มากกว่า ยอดขาย อาจเกิดความเสี่ยงที่วัตถุดิบจะด้อยค่า หรือตกรุ่นไปเลย แต่จะใช้ไม่ได้กับพวกที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ เช่นน้ำมัน การมีสต๊อกเป็นจำนวนมากอาจกลับกลายเป็นข้อดีเพราะซื้อมาในราคาที่ต่ำ ในขณะที่ราคาตลาดปรับตัวขึ้น

6]inventory days(ระยะเวลาขายสินค้า)=365/อัตรการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ
=ระยะเวลาจากนำวัตถุดิบเข้ามาจนแปรรูปขายออกไปเฉลี่ยกี่วัน

7]interest coverage ratio(ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย)=กำไรก่อนหักดอกเบี้ย/ดอกเบี้ย
=ความ สามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ถ้านัอยกว่า1แสดงว่ากำไรได้มา จ่ายดอกเบี้ยยังไม่พอ บริษัทแบบนี้ก็ไม่ต้องไปยุ่งมัน

8]payable turnover(อัตรการหมุนเวียนเจ้าหนี้)=2*ต้นทุนการขาย/(เจ้าหนี้การค้าต้นงวด +เจ้าหนี้การค้าปลายงวด)
=ดูว่าวัตถุดิบทั้งหมดที่ซื้อเข้ามาในงวดบัญชีนั้น เราแบ่งจ่ายเงินเจ้าหนี้ไปกี่รอบ ยิ่งน้อยยิ่งดี

9]payable payment period(ระยะเวลาจ่ายหนี้)=365/อัตรการหมุนเวียนเจ้าหนี้
=ระยะเวลาที่เจ้า หนี้ให้เครดิตเรา ยิ่งมากยิ่งดีเพราะการเป็นหนี้แบบนี้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ทำให้สามารถเอาเงินมาหมุนก่อนได้

10]fixed asset turnover(อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)=2*รายได้จากการขาย/(ที่ดิน ,อาคาร,อุปกรณ์ต้นงวด+ปลายงวด)
=เป็นการเปรียบเทียบยอดขายกับสินทรัพย์ถาวร ถ้ามีค่ามากๆจะบอกได้ว่ามีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์สินถาวรสร้างยอดขาย

11]gross profit margin(อัตรากำไรขั้นต้น)=กำไรขั้นต้น/ยอดขาย
=ดูว่ากำไรขั้นต้นเป็นกี่เท่าของยอดขาย

12]net profit margin(อัตรากำไรสุทธิ)=(กำไรขั้นต้น-ดอกเบี้ย-ภาษีจ่าย-ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย)/ยอดขาย
=กำไรสุทธิเป็นกี่เท่าของยอดขาย

13]debt to equity ratio=หนี้สิน/ทุน
=จากสมการสินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน ถ้าd/e=1แสดงว่า สินทรัพย์100บาทมีหนี้50ทุน50 บริษัทไหนมีค่านี้ต่ำจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าในยามเกิดวิกฤตเศษฐกิจ

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นโยบายภาครัฐ กับหุ้น Top pick

นโยบายภาครัฐ กับหุ้น Top pick

รถไฟฟ้า, รถไฟรางคู่เชื่อมต่อบริเวณชานเมือง, รถไฟความเร็วสูง, ขยายแอร์พอร์ตลิงค์,ทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลไม่ให้ท่วมกรุงเทพฯ

+ กลุ่มธนาคาร: ความต้องการสินเชื่อโครงการมีมากขึ้น BBL, KTB
ตอบ มอง KTB เป็นนัยสำคัญสำหรับการปล่อยสินเชื่อของรัฐที่อาจจะมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าการที่ภาครัฐจะทำเมกะโปรเจคอะไรสักอย่าง การดำเนินการคงไ่ม่ได้เร็วสักเท่าไร อย่างไรก็ต้องมองพื้นฐานของแบงค์เป็นหลัก ควรปล่อยสินเชื่ออื่นๆ กับลูกค้าชั้นดีอย่างระมัดระวังด้วย และไม่ใช่จะรอเพื่อปล่อยกับงานของรัฐเพียงอย่างเดียว

+ กลุ่มเหล็ก: เพิ่มความต้องการเหล็กสำหรับการก่อสร้าง BSBM
ตอบ ไม่ได้ศึกษาสำหรับกลุ่มนี้เลย แต่ถ้าหากมีการพัฒนาสาธารณูปโภคจริงๆ ก็คงไม่พ้นตัวนี้กระมั้ง แต่อย่าลืมการประมูลใดๆ ก็ตาม มีเข้านอกออกในเสมอสำหรับประเทศไทย

+ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง: โครงการรอประมูลมากขึ้น STEC
ตอบ อันนี้ก็คงเหมือนกลุ่มด้านบน การประมูลในส่วนของราคาที่ต่ำสุด เพื่อให้ได้ประมูลโครงการต่างๆ เสมือนเป็นการปิดรายได้ของงานประมูลนั้นๆ ไปเลย และระยะเวลาในการก่อสร้างแต่ละอย่างกินเวลานาน รายได้ที่รับรู้จริงๆ ก็คงใ้ช้เวลานานพอควร ดังนั้นคนที่เล่นกลุ่มนี้อย่างไรก็คงต้องระมัดระวังเรื่องการปั่นราคา ก่อนการประมูลและทุบหลังจากข่าวการประมูลนั่นเบาลงไป และราคาหุ้นก็จะวิ่งหาราคาพื้นฐานของตัวมันเอง

+ กลุ่มปูนซิเมนต์: กิจกรรมก่อสร้างมากขึ้น การใช้ปูนซิเมนต์เพิ่มขึ้น SCC, SCCC
ตอบ พื้นฐานชัดเจน ประเทศไทยยังต้องพัฒนาสาธารณูปโภคอีกเยอะอย่างไรหลายได้คงเข้ามาอีกเรื่อยๆ มองยาวๆ สำหรับตัวนี้ แต่ก็อาจจะนานอีกหลายร้อยปี ที่ประเทศเราจะเจริญเท่าเพื่อนบ้าน เพราะพวกเรายังคงกินกันไม่เลือกอยู่ดี

+/- กลุ่มขนส่งทางบก: เป็นบวกกับ BMCL และ BTS จาก BTS ระบบขนส่งที่เชื่อมต่อกัน ทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นและการประมูลผู้บริหารการเดินรถและซ่อม บำรุง (O&M) แต่จะเป็นลบกับ BECL ผู้ใช้ทางด่วนอาจหันไปใช้ระบบรถไฟฟ้า
ตอบ ถ้าหากจะให้ระบบรถไฟฟ้าใช้บริการครั้งละ 20 บาทจริงๆ ขึ้นมาหล่ะก้อ ผลลัพธ์คงไม่ต่างอะไรกับรถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน ที่รถร่วมต้องออกมาบ่นเสมอๆ ไป

คืนภาษีและเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีให้กับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก, คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก

+ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย: เพิ่มแรงจูงใจในการซื้อบ้าน AP, PS, SPALI
ตอบ นโยบายเพิ่มหนี้ให้กับประชาชนจริงๆ เหอะๆ แต่ตอนนี้ผมมองๆว่า คอนโดเริ่มแผ่วแล้วนะ ดูจากบางโครงการที่เลื่อนเวลาในการออกมาขาย และเลื่อนเวลาในการสร้างอยู่หลายโครงการ

+ กลุ่มยานยนต์: ช่วยกระตุ้นอุปสงค์รถยนต์ SAT
ตอบ มองไปทางไหน คนไทยก็รวยนะ (รวยแต่มีหนี้กันเยอะกระมั้ง 555) เนื่องจากมองไปทางไหนก็เป็นแต่รถป้ายแดงกันเยอะแยะไปหมด

+ กลุ่มขนส่ง: ปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนมากขึ้น จากรถใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ตอบ  อันนี้ก็วัดจากกลุ่มด้านบน ซึ่งผมมองว่ารถไฟฟ้าคงอีกหลายปี ที่จะมาทำให้คนกรุงเิลิกใช้ทางด่วน และอย่าลืมเดี๋ยวนี้คนซื้อบ้านย่านชานเมืองกันมากขึ้นเยอะ (ก็มันถูกกว่านี่หน่า)

+ กลุ่ม Consumer Finance: รับประโยชน์การขยายตัวของ KK สินเชื่อตามความต้องการที่มากขึ้น
ตอบ  ผมมองตัว kcar และ tk  เพิ่มเติม เนื่องจากรากหญ้าได้ประโยชน์จากนโยบายของรัฐ ก็คงไม่พ้นได้อวดมอเตอร์ไซค์คันใหม่กันให้วุ่น และ KK ยังไม่ถึงกลุ่มรากหญ้าสักเท่าไร

ทำสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็น Hub, ยกเว้นวีซ่าให้กับประเทศตะวันออกกลาง-ญี่ปุ่น

+ กลุ่มขนส่งทางอากาศ: AOT และ THAI จากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น AOT
ตอบ อันนี้ขึ้นอยู่กับสัมปทานจริงๆ แต่ถ้าหากการเมืองไทยบ้านเราสงบขึ้นมาจริงๆ ไม่มีคลื่นใต้น้ำ ไม่มีอำนาจมืด การท่องเที่ยงคงกลับมา และคงเริ่มประกาศตัวเองเป็น amazing thailand อีกรอบ


จบปริญญาตรีเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท, ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ, เงินกองทุนหมู่บ้าน

+ กลุ่มพาณิชย์: เพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า BIGC, CPALL,เป้าหมายของห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า HMPRO
ตอบ ได้ประโยชน์จากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น คนก็ใช้สอยกันมากขึ้น ประเทศเราคงต้องพึ่งการบริโภคภายในประเทศแทน ภาคส่งออก เนื่องจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขาเงินบาทที่แข็ง และเงินทุนยังคงไหลเข้า


+ กลุ่มยานยนต์: แม้ต้นทุนของผู้ผลิตจะสูงขึ้น แต่กำลังซื้อ STANLY, LHKของผู้บริโภคจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มรถจักรยานยนต์
ตอบ  มุมมองเหมือนด้านบน

+ กลุ่ม Consumer Finance: ผลักดันการใช้จ่ายมากขึ้น SINGER, TK
ตอบ มุมมองเหมือนด้านบน

- กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง: ต้นทุนก่อสร้างโดยเฉพาะค่าแรงอาจเพิ่มแต่สัดส่วนวัสดุก่อสร้าง น่าจะสูงกว่าทำให้ผลกระทบไม่มาก
ตอบ มุมมองเหมือนด้านบน

- กลุ่มแฟชั่น: ค่าแรงเพิ่มขึ้น
ตอบ ผมว่ากระทบมากกว่านะ อย่างไรๆ ต้นทุนค่าแรงก็เพิ่มขึ้น กลุ่มนี้ก็อาจจะได้ผลกระทบพอสมควร ได้เมื่อสายการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นคนชั้นแรงงานอยู่

- กลุ่มเกษตรและอาหาร และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์:ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นราว 1-2%
 ตอบ ปัจจัยลบจริงๆ อย่างไรก็ควรต้องมองหุ้นที่ค่าแรงปัจจุบันนั่นเกินค่าแรงขั้นต่ำไปก่อนหน้านี้แล้ว เช่น delta แต่อย่าลืมถึงแม้ค่าแรงจะเกินค่าแรงขั้นต่ำไปแล้ว แต่คนอื่นๆ เค้าได้เพิ่มขึ้น และพวกเราจะไม่ได้เพิ่มกันบ้างหรือ??

One Tablet PC per child, Free WIFI ในที่สาธารณะ

+ ขึ้นกับการใช้บริการ Mobile Internet, Wifi ของค่ายใด ADVANC, DTAC (เช่น ADVANC, DTAC, TRUE, TTTBB)
ตอบ จากมุมมองตอนนี้ จากสิ่งที่เห็นจากคนรอบข้าง จากการติด bb , iphone , social network จึงทำให้คิดว่าคนไทยบริโภคนิยมการใช้งาน internet ไม่ว่าจะ facebook หรือ twitter หรือข่าวสาร online กันมากกว่านิยมบริโภคอาหารไปแล้วนะ เพราะแม้แต่ตอนกินข้าว หรือไปเที่ยวที่ไหนก็เปิดใช้งาน internet อยู่ตลอดเวลาจริงๆ กลุ่มนี้อย่างไรยังมองว่ายังเติบโตได้อีกและจากการสำรวจที่คนไทยทั้งประเทศที่ยังใช้งาน internet และ computer เพียงราวๆ 20-30% เอง อ้าวยังโตได้อีกเยอะ

+ กลุ่มสื่อสาร: เฉพาะกลุ่มวางระบบสารสนเทศ AIT
ตอบ มองกลุ่มที่ได้สัมปทานจากรัฐ และมีความสนิทสนมกัีบภาครัฐเป็นพิเศษก็ดี

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รายชื่อหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ในการคำนวณดัชนี SET High Dividend 30 Index สำหรับการคำนวณดัชนี ระหว่าง 1 ก.ค. 2554 ถึง 31 ธ.ค. 2554

รายชื่อหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ในการคำนวณดัชนี SET High Dividend 30 Index สำหรับการคำนวณดัชนี ระหว่าง 1 ก.ค. 2554 ถึง 31 ธ.ค. 2554
TCAP, TISCO
SCC, VNG
HANA
EGCO, GLOW, PTT, RATCH, TTW, LANNA
CPF, TUF
SAMART, SAMTEL, DTAC
PDI
AJ
AP, LPN, QH, STPI, SPALI
MCS
BECL, PSL

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 3 : แผนงานและกลยุทธ์ในการแข่งขันในปี 2554

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 3
แผนงานและกลยุทธ์ในการแข่งขันในปี 2554

ในปี 2554 นี้ ทางบริษัทได้คาดการณ์ว่าต้นทุนต่างๆโดยเฉพาะทางด้านพลังงาน จะมีการปรับตัวสูงขึ้น เพราะฉะนั้นทางบริษัทฯจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการมุ่งมั่นพัฒนาที่จะควบคุมต้นทุนไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ ประกอบกับการเพิ่มศักยภาพของจุดขายทั้งหมดที่มีอยู่ รวมไปถึงการเพิ่มคุณค่าให้สินค้า โดยคำนึงถึงกำไรขั้นต้นเป็นหลัก เป้าหมายโดยรวมแล้วสรุปได้ว่า

• รักษาระดับของกำไรขั้นต้นให้อยู่ที่  44%-45%

• ยอดขายโดยรวมเติบโตขึ้น 10% จากปี 2553

• เปิดสาขาเพิ่ม 10-15 สาขาภายในปี 2554

• ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม 2 เตา

• ลดของเสียให้ต่ำกว่า 1%

จากภาวะตลาดที่ซบเซาในครึ่งปีหลังของปี 2553 เนื่องมาจากสภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดทำให้การก่อสร้างต้องชะลอตัวลงในหลายพื้นที่ เป็นเหตุผลให้หลายๆผู้ผลิตต้องหันมากดดัราคาลงด้วยการลด แลก แจก แถม ในขณะที่ต้นทุนต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านพลังงานเริ่มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในปี 2554สำหรับผลกระทบกับไดนาสตี้เองแล้ว ทางบริษัทฯได้ชะลอการเปิดเตาใหม่ 2 โครงการ ซึ่งในเดือนมกราคมปี 2554 ได้ดำเนินการเปิดไปแล้วหนึ่งเตา ซึ่งสามารถให้ผลผลิประมาณ 250,000 ตารางเมตร/เดือน  และจะเปิดเตาที่สองในเดือนกรกฎาคม 2554 ใช้งบลงทุนประมาณ 280 ล้านบาท สามารถผลิตได้ประมาณ 285,000 ตารางเมตร/เดือน ซึ่งจากการเปิดเตาทั้งสองเตาแล้ว จะทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จาก Economy of Scale

ในด้านการตลาด
  • ความต้องการของกระเบื้องนั้น ตลาด ณ ปัจจุบันหันมานิยมใช้กระเบื้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เตาเผาที่ทางบริษัทฯมีอยู่สามารถเปลี่ยนขนาดได้ตามต้องการ และกระเบื้องขนาดใหญ่นี้ยังสามารถผลักให้ราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรสูงขึ้น อีกทั้งมีกำไรขั้นต้นที่ดีกว่าด้วย
  • การเปิดสาขาเพิ่ม 10-15 สาขาในปีนี้สามารถทำให้ทางบริษัทฯมีช่องทางในการขายเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งยังเป็นส่วนที่สามารถดึงส่วนแบ่งทางการตลาดอีกด้วย
  • นโยบายในการเจาะกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยมีการรับสมัครสมาชิกเพื่อสนับสนุนให้มีการกระตุ้นการซื้อที่ต่อเนื่องในด้านต้นทุนเนื่องจากบริษัทฯได้คาดการณ์ว่า ต้นทุนด้านพลังงานโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตจะเพิ่มขึ้นในปีนี้รวมไปถึงต้นทุนของสารเคมีต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทางบริษัทฯมีนโยบายควบคุมต้นทุนดังนี้
  1. การขยายกำลังการผลิตที่จะได้รับผลประโยชน์ จาก Economy of scale ที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง
  2. การวิจัยพัฒนาส่วนผสมของเนื้อกระเบื้องซึ่งสามารถลดอุณหภูมิที่ใช้ในการเผา ซึ่งส่งผลให้การใช้ก๊าซธรรมชาติลดลง
  3. การวิจัยพัฒนาส่วนผสมของสี และ สารเคมีต่างๆ และการใช้วัตถุดิบสารเคมีที่มีราคาถูกกว่ามาทดแทน
  4. การคิดค้นใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อมาใช้ในการลดการใช้สารเคมี
  5. การลดของเสียให้ต่ำกว่า 1% จาก 1.13% ในปี 2553
ในด้านขนส่ง
ทางบริษัทฯมีนโยบายการปรับปรุงการขนส่งโดยใช้รถบรรทุกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมไปถึงการวางแผนเส้นทางในการขนส่งโดยใช้หลักระยะทางที่สั้นที่สุด บวกกับหลักของ ระยะทางที่ถูกที่สุด ซึ่งจะสามารถควบคุมต้นทุนในการส่งของได้ส่วนหนึ่ง


กำลังการผลิต
        กำลังการผลิตและ % การใช้กำลังการผลิตในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาของบริษัทและบริษัทย่อยมีดังนี้






ปริมาณการผลิต

บริษัท / ผลิตกระเบื้อง
(ล้านตารางเมตรต่อปี)







2553
2552
2551

บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด(มหาชน) - กำลังการผลิต
23
21
20





(ผลิตเฉพาะกระเบื้องเซรามิคปูพื้น) กำลังผลิตร้อยละ
97%
93%
87%





บริษัท ไทล์ ท้อป อินดัสตรี้ จำกัด(มหาชน)- กำลังการผลิต
28
24
22





(ผลิตกระเบื้องเซรามิคปูพื้นและบุผนัง ) กำลังผลิตร้อยละ
99%
93%
88%





(ของกำลังการผลิตปกติ)
รวมกำลังการผลิต


51
45
42





       ความคิดเห็นของผู้เขียน
ต้นทุนการผลิต ก๊าซ NG ที่พุ่งสูงขึ้นยังเป็นปัจจัยลบต่อกำไรขั้นต้นของบริษัท อีกทั้งต้นทุนในการขนส่งที่ต้องสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน จึงเห็นได้ว่าไตรมาสที่ 1 ปี 2554 บริษัทมีกำไรต่อหุ้นเพียง 0.89 ซึ่งมากกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 เพียง 1% และการเพิ่มกำลังการผลิตที่ดูแล้วเดินเครื่องเกือบ 100% แล้ว ยังถือว่าอาจจะเป็นจุดสูงสุดของกำลังการผลิตแ้้ล้ว ซึ่งอาจจะต้องมองแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย ว่ายังเติบโตไปในแนวทางที่ดีเพียงใด ที่ทำให้มี demand มากกว่า supply ที่อยู่ในตอนนี้ จึงทำให้การเพิ่มกำลังการผลิตเห็นผล และรับรู้รายได้มากขึ้น

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 2 : สภาวะการแข่งขันและปัจจัยเสี่ยง

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 2 : สภาวะการแข่งขันและปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยง


1. ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
เนื่องจากในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมาภูมิอากาศในประเทศไทยมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก ในช่วงครึ่งปีแรกจะประสพกับภาวะภัยแล้ง และอุทกภัยในครึ่งปีหลัง ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตและราคาทางการเกษตรมีความแปรปรวน บริษัทจึงมีนโยบายที่จะขยายตลาดเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ รวมไปถึงการป้องกันทรัพย์สินของบริษัท ตามสาขาต่างๆด้วย
2. ความเสี่ยงจากราคาต้นทุนพลังงาน
การที่ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระเบื้องเซรามิค มีความผันผวน ตามราคาน้ำมันเตา และน้ำมันโลก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเปลี่ยนไปจากที่ประมาณการไว้ แต่บริษัทมีนโยบายปรับปรุงขบวนการผลิต โดยเฉพาะในทางวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุน ในการใช้พลังงาน ทั้งปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
3. ความเสี่ยงจากกระเบื้องนำเข้า
ในปี 2552 กระเบื้องนำเข้าจากประเทศจีนนั้น มีมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาท และในปี 2553 กระเบื้องนำเข้าจากจีน มีมูลค่ากว่า 3.7 พันล้านบาท ซึ่งการขยายตัวครั้งนี้เกิดจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ได้ขยายกิจการโดยการสร้างคอนโดมินี่ยมในตัวเมืองสูงเพิ่มจากปีก่อนเป็นเท่าตัว ซึ่งทำให้ตลาดกระเบื้องเซรามิคในเมืองมีความเสี่ยง ทางบริษัทมีแผนการยายรูปแบบของสินค้ากระเบื้องเซรามิค อยู่ 2 ทาง ดังต่อไปนี้
การผลิตกระเบื้องเจียรขอบซึ่งจะมีลักษณะคล้าย กับกระเบื้องนำเข้า หรือ แกรนิตโต้ ซึ่งสามารถปูชิดติดกันได้ แต่เนื่องจาก ต้นทุนในการผลิตยังคงสูง บริษัทยังคงต้องพัฒนาต่อไปจนกว่าจะได้ต้นทุนที่ต่ำตามต้องการ
การผลิตกระเบื้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ปัจจุบันทางบริษัทมีกระเบื้อง 4 ขนาด ได้แก่ 8x8” , 8x10” 12x12” และ16x16” ซึ่งในสภาพตลาดปัจจุบัน ความต้องการของกระเบื้องมีการใช้กระเบื้องในขนาดที่ใหญ่ขึ้น บริษัทจึงวิจัยพัฒนาเพื่อเตรียมการที่จะผลิตกระเบื้องที่มีขนาด 24x24” ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับกระเบื้องนำเข้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในตัวเมืองได้ดีขึ้น
4. ความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่ง
เนื่องจากสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าหนัก และต้นทุนค่าขนส่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องจากภาวะความไม่สงบในประเทศลิเบีย บริษัทจึงมีนโยบายปรับปรุงการขนส่งโดยการวางแผนเส้นทางการขนส่งให้มีระยะทางที่สั้นที่สุด และระยะทางที่ถูกที่สุดรวมไปถึงการใช้รถขนส่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งบริษัทคาดว่าจะสามารถความคุมต้นทุนการขนส่งไว้ได้

สภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
ในปี 2553 ที่ผ่านมาจากยอดขายในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 จะสังเกตเห็นได้ว่ายอดขายของบริษัทฯได้สร้างสถิติใหม่ขึ้นอีกครั้ง ปัจจัยบวกหลักๆเนื่องมาจากราคาสินค้าทางการเกษตรที่ดีขึ้น ในเดือนมีนาคม ราคาน้ำตาลได้ขึ้นสูงที่สุดในรอบ 25 ปี ถึงแม้ว่าราคาข้าวจะปรับตัวลงประมาณร้อยละ 10 ก็ตาม แต่เกษตรกรยังสามารถขายข้าวได้เป็นจำนวนมากเนื่องมาจากภัยธรรมชาติในประเทศผู้ผลิตทำให้ความต้องการในต่างประเทศสูงขึ้น 
จากความต้องการของกระเบื้องที่สูงขึ้นมากในไตรมาสแรกนั้นทำให้กำลัการผลิตของบริษัทฯไม่เพียงพอต่อความต้องการ และก็เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าทางบริษัทฯจะสามารถปรับราคาขายขึ้นได้ จากราคาขายเฉลี่ยที่ 125 บาทต่อตารางเมตร ทางบริษัทฯได้ปรับขึ้นเป็น 129 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งส่งผลให้ Gross Marginปรับตัวสูงขึ้นด้วยปัญหาจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนั้นก็ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ปรากฏการณ์La Nina ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมทำให้มีฝนตกชุกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่ได้ผลกระทบหนักเมื่อมีฝนบวกกับน้ำที่ไหลมารวมกันทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมสูงกว่า 5 เมตรอย่างไรก็ตาม ปัญหาจากภัยธรรมชาติในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนเกษตรกรไทยสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว

          แต่เนื่องจากอุทกภัยในปี 2553 นั้นเป็นครั้งที่รุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ จึงทำให้การฟื้นตัวของภาคเกษตรเป็นไปอย่างช้า ผลกระทบที่ทางบริษัทได้รับคือ 6 สาขาต้องปิดทำการ2-4 วัน และ มีกล่องกระเบื้องที่เปียกน้ำเสียหายประมาณ 100,000 ตาราเมตร ซึ่งทางบริษัทได้จัดลดราคาเพื่อระบายสินค้าผลลัพธ์จากอุทกภัยทำให้เป้าหมายการเจริญเติบโตของยอดขายที่ตั้งไว้ 15%เหลือเพียง 11% จากครึ่งปีแรกที่บริษัทมีการเจริญเติบโตกว่า 19% อย่างไรก็ตาม บริษัทฯได้สามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นจาก 42.5% มาอยู่ที่ 44.2% ได้ จึงทำให้กำไรสุทธิสูงขึ้น 18%เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,175 ล้านบาทสภาพตลาดกระเบื้องโดยรวมแล้วมีการเจริญเติบโตอย่างมากในไตรมาสที่สี่ของปี 2552 ต่อเนื่องมาถึงไตรมาสที่สองในปี2553 ปัจจัยหลักคือราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบวกกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีการขยายตัวทำให้ประชาชนมีสภาพคล่องมากขึ้น ปัญหาการว่างงานลดลงเป็นลำดับสังเกตง่ายๆจากแรงงานไทยนั้นเริ่มที่จะหายากมากขึ้น ในภาพรวมของตลาดกระเบื้องในประเทศไทยในปี 2553 มีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นประมาณ 9% ส่วนใหญ่แล้วเพิ่มขึ้นมาจากครึ่งปีแรกและมาชะลอตัวในครึ่งปีหลัง สำหรับทางบริษัทฯเองนั้นมีการเจริญเติบโตที่มากกว่าตลาดรวมประมาณ 2% แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทฯได้มีการเข้าไปแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาดมากขึ้น  แผนภาพด้านล่างเป็นสัดส่วนของตลาดรวมทั้งหมดที่อยู่ใน set คือรวมกระเบื้องส่งออกด้วยแต่ในประเทศไทยมีผู้ผลิตกระเบื้อง 7 ราย ซี่งอีก 3 ราย นั้นไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ตามข้อมูลที่ประเมินนั้นทางบริษัทฯมีส่วนแบ่งทางตลาดที่ 32% ซึ่งถือว่าเป็นอันดับหนึ่ง ส่วน 44% จะเป็นของบริษัทฯที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์อีก 3 แห่ง แต่ถ้าแยกเฉพาะตลาดในประเทศส่วนแบ่งของไดนาสตี้จะเพิ่มเป็น 40% เพราะไดนาสตี้นั้นมีสัดส่วนการส่งออกเพียงแค่ 4% เนื่องจากความต้องการภายในประเทศที่ยังคงสูง ประกอบกับอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีกว่าบริษัทฯจึงยังคงเน้นที่จะขายในประเทศเป็นหลักทางบริษัทฯมีการเพิ่มกำลังการผลิตถึงสองเตาและปรับปรุงประสิทธิภาพหนึ่งเตาในปี 2553 เพื่อที่จะเตรียมสินค้าไว้จำหน่ายให้พอเพียงกับความต้องการของตลาดที่มากขึ้น ซึ่งการเพิ่มกำลังการผลิตนั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงเนื่องมาจาก Economy of scale ทำให้ทางบริษัทสามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น หรือ มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสูงขึ้นในด้านราคาขายตลอดทั้งปีแล้วทางคู่แข่งก็มีการปรับลดราคาลงมาบ้างโดยเฉพาะในครึ่งปีหลัง แต่ทางบริษัทฯได้เน้นไปทางกิจกรรมส่งเสริมการขายเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้สามารถเพิ่มราคาขายได้กว่าปีก่อนถึง 4 บาท ต่อตารางเมตร

ความคิดเห็นของผู้เขียน
ภัยธรรมชาติช่วงนี้ก็มีมาเืืรื่อยๆ ซึ่งก็อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อการผลิต DCC ไม่ใช่น้อย (แต่ก็สุดจะคาดเดา) และต้นทุนทางพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้กำไรขั้นต้นก็น้อยลงไป แต่ดูจากบทความแ้ล้วทาง DCC เองก็ได้มีการพัฒนาและวิจัย ต้นทุนการผลิต ,ด้านขนส่ง, และผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ที่ดีต่อตัวบริษัท ( 1 ใน 13 ข้อ ตามหลักการวิเคราะห์หุ้นของ philip fisher ที่บริษัทยังคงมีการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ )  แต่ถ้าหากมองทางด้านตลาดของ DCC ยังเป็นตลาดล่างอยู่ ซึ่งอาจจะลำบากในการเติบโตในส่วนของตลาดระดับกลางและระดับบน ( แต่บริษัทหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องเจาะตลาดทุกระดับเสมอไป ซึ่งอาจจะเป็นการเสี่ยงทำให้ขาดทุนได้ ถ้าหากไม่มีความชำนาญพอ) และยังเป็นตลาดสำหรับการ replace สินค้า มากกว่าตลาดสินค้าใหม่ คือ ลูกค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อไป จะซื้อกระเบื้องสำหรับการซ่อมแซ่มมากกว่าปูกระเบื้องใหม่ อันนี้ก็เป็นปััจจัยหนึ่งในด้านการตลาดที่ต้องปรับปรุง

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 1 : โครงสร้างบริษัท

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 1 : โครงสร้างบริษัท
บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด(มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค และเริ่มเป็นผู้ผลิตกาวยาแนวในปี 2553 โดยรับซื้อสินค้าทั้งหมดที่ผลิตจากบริษัท ไทล์ ท้อป อินดัสตรี้ จำกัด(มหาชน) ซึ่งผลิตกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในราคาขายส่งมาจัดจำหน่าย รวมทั้งสั่งซื้อ สุขภัณฑ์ บัวกาบกล้วยและกาวยาแนว มาจัดจำหน่ายผ่านบริษัทย่อย 3 บริษัท คือ บริษัท พิค แอนด์ เปย์ จำกัด บริษัท เมืองทองเซรามิค จำกัด และ บริษัท เวิลด์ไวด์ เซรามิค จำกัด ที่บริษัทได้เข้าไปลงทุนถือหุ้นมากกว่า 96 %เมื่อปี 2548 เพื่อทำตลาดขายปลีกเองในรูป “ ตลาดนัดกระเบื้องไดนาสตี้ - ไทล์ท้อป “

ณ สิ้นปี 2553 บริษัทมีคลังสาขาทั่วประเทศรวมประมาณ 177 แห่ง เพิ่มขึ้น 7 แห่งจากปี 2552 นอกจากนั้น ยังจำหน่ายให้ผู้แทนจำหน่ายในประเทศอีกประมาณ 130 ราย และส่งไปขายยังต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย มัลดิฟ มอริเชียส ศรีลังกา เยเมน นิวซีแลนด์ เกาหลี ฟิจิ-ไอร์แลนด์ , พม่า , ฟิลิบปินส์ ฯลฯ

บริษัทและบริษัทย่อยได้ดำเนินการขยายกำลังการผลิตมาโดยตลอด ปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตรวมของทั้งสองบริษัทปีละ 51 ล้านตารางเมตร (ตอนนี้น่าจะอยู่ราว 60 ล้านตารางเมตร จากการเพิ่มเตาอีก 1 เตา) ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดของการขายสินค้ากระเบื้องเซรามิคในประเทศมากที่สุด


โครงสร้างรายได้
     1. รายได้จากการขายกระเบื้องเซรามิค และกาวยาแนว ที่ผลิตโดยบริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด(มหาชน)
2.  รายได้จากการจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค ที่ซื้อจากบริษัทย่อย (บริษัท ไทล์ ท้อป อินดัสตรี้ จำกัด(มหาชน) มาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้าโดยบวกกำไรจากราคาส่งที่ซื้อจากบริษัทย่อยดังกล่าว
3.  รายได้จากการจำหน่ายสุขภัณฑ์ กาวยาแนว และอื่นๆ ที่ซื้อมาขายไป

การจัดส่งสินค้าของบริษัท
บริษัทฯ ใช้ผู้รับเหมาขนส่งเป็นตัวแทนในการดำเนินการขนส่งสินค้ากระเบื้องเซรามิค สุขภัณฑ์และอื่นๆ ไปยังลูกค้าของบริษัทฯ  โดยบริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องไม่มีส่วนได้เสียหรือถือหุ้นในนิติบุคคลผู้รับเหมาขนส่งสินค้าของบริษัทฯ  ซึ่งขนส่งสินค้าโดย รถกระบะ 2 ล้อ , รถบรรทุก 6 ล้อ และ 10 ล้อ หรือ รถพ่วง ตามการบรรทุกที่กฎหมายกำหนด และผู้รับเหมาแต่ละราย  ได้ปฏิบัติอยู่ภายใต้กรอบแห่งสัญญาที่เป็นระเบียบปฏิบัติที่ดีของการขนส่งที่มีกับบริษัทฯ และได้มีการประกันภัยสินค้าและประกันภัยบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดส่งสินค้าแล้ว ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าของบริษัทฯ ขึ้น-ลงอยู่กับราคาน้ำมันดีเซลในแต่ละวัน คิดเป็นร้อยละ 8 ของยอดขาย  

ความคิดเห็นของผู้เขียนเอง
เป็นบริษัทที่เข้าใจง่าย และเน้นขายในประเทศเป็นหลัก รายได้มาจากการเติบโตตามเศรษฐกิจของภายในประเทศเอง (จัดว่าเป็นหุ้นเติบโตตามการขยายตัวของรายได้ตามเศรษฐกิจ ซึ่งก็สามารถศึกษาและตามข่าวได้ง่าย)  ผลกระทบของรายได้ ไม่ค่อยเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนมากนัก 

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หุ้นพื้นฐานดี ถือรับปันผลเดือน 7-8

หุ้นพื้นฐานดี ถือรับปันผลเดือน 7-8
ptl  วัฏจักรแต่เราก็ไม่ได้ถือนาน อิอิ   ดูแล้วน่าจะช่วงสุดของธุรกิจแล้ว ปันผลราว 5.76% ,
stanly โดนผลกระทบจากญี่ปุ่น แต่พื้นฐานยังแน่น และน่าจะเร่งผลิตได้เพิ่มขึ้น ปันผลราว 3.9%
kye โดนผลกระทบจากญี่ปุ่น + ยอดขายตก + ถอนออกจาก set 100  ปันผลราว 6.8%
แนะขายก่อนปันผลก็ดีนะ อิอิ

หรือยังมีตัวอื่นที่น่าสนใจดังนี้ ถือรับปันผล
DSGT : บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล

IFEC : บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด

ADVANC : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

BH : บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

BJC : บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

BOL : บริษัท บิซิเนส ออนไลน์

CPF : บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร

DCC : บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน)

HTECH : บริษัท แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่

MAKRO : บริษัท สยามแม็คโคร

JUBILE : บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

JUBILE : TIW : บริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิคส์

JCT : บริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย)

KYE : บริษัท กันยงอีเลคทริก

MCS : บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล

PTTEP : บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม

RATCH : บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง

SHIN : บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด

SPORT : บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท

TNDT : บริษัท ไทย เอ็น ดี ที

TPAC : บริษัท พลาสติค และหีบห่อไทย

TUF : บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด

ชำแระ BTS กับรายได้ที่ลดลง

ชำแระ BTS กับรายได้ที่ลดลง
ข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบมา ปรากฏว่า ตามหลักการบันทึกบัญชีปัจจุบัน ยอดจองอสังหาริมทรัพย์จะไม่ได้รับการบันทึกเป็นรายได้ จนกว่าจะเริ่มมีการส่งมอบหรือโอนสินค้า ดังนั้น การที่มีรายได้ส่วนนี้ค่อนข้างต่ำเพียงแค่ 146.92 ล้านบาท เพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน 100.85 ล้านบาท จึงเป็นเหตุผลทางเทคนิคของการบันทึกบัญชี ซึ่งไม่ได้ยืนยันความเข้มแข็งที่แท้จริง เพราะการก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อจะส่งมอบให้ลูกค้าเพื่อโอนกันต่อ ไปและมีการบันทึกรายได้ จะต้องกินเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในงบการเงินของปี 2554 ที่จะพุ่งกระฉูดขึ้นมาในอนาคตอันใกล้


ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีรายได้ลดลงกว่าครึ่งหนึ่งจากระดับ 546.14 ล้านบาทของปีก่อน มาเป็น 261.77 ล้านบาท ก็เช่นเดียวกัน เพราะในระยะนี้ ยังต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการก่อสร้างโครงการอยู่ ยังไม่ได้ส่งมอบงาน ซึ่งจะเป็นไปตามข้อสัญญาที่มีกำหนดเอาไว้
ที่น่าสนใจก็คือ รายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งมียอดเติบโตต่อเนื่อง แม้จะต่ำมากนัก จาก 3,484.65 ล้านบาทของปีก่อน มาเป็น 3,544.82 ล้านบาท ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากขณะนี้ ยอดคนโดยสารก็ยังหนาแน่นต่อเนื่อง สิ่งที่จะต้องพิจารณาในอนาคตก็คือ หากมีการขยายเส้นทางเดินรถยาวออกไปในอนาคต จะทำให้ยอดรายได้ค่าตั๋วโดยสารเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน


รายได้จากค่าบริการเดินรถ เป็นรายได้จากส่วนให้บริการต่อจาก กทม. สำหรับเส้นทางที่ต่อขยายออกไปจากเส้นทางเดิมซึ่งรับสัมปทานอยู่ ถือได้ว่ามีการเติบโตที่โดดเด่น จาก 194.96 ล้านบาท เป็น 316.00 ล้านบาท ก้าวกระโดดอย่างมาก ซึ่งหากมีการขยายออกไปอีก น่าจะทำให้มีรายได้มากขึ้นไปอีกได้
รายได้จากค่าเช่าและบริการโฆษณา เป็นรายได้ที่โดดเด่นมากอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ จาก 1,100.17 ล้านบาท มาเป็น 1,369.94 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนนี้ ยังมีโอกาสเติบโตได้มากขึ้นไปอีก ทั้งในแง่ของราคา และปริมาณ


ส่วนรายได้จากค่าเช่าพื้นที่และบริการทั่วไปที่ติดพ่วงมากับรถไฟฟ้านั้น ไม่ถือเป็นรายได้หลักก็จริง แต่ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมากก็เห็นได้ชัดว่าเป็นตัวเลขเสริมให้กำไรดีขึ้น จาก 203.96 ล้านบาท มาเป็น 254.91 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า BTS ได้กลับจากการฟื้นตัวจากบริษัทมีหนี้สินเก่าเรื้อรังมาเป็นบริษัทที่ต้อง พึ่งพารายได้จากการดำเนินการตามปกติเรียบร้อยแล้ว เข้าสู่สภาพสามัญของธุรกิจที่ต้องพึ่งพาความสามารถทางธุรกิจเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องพึ่งรายได้พิเศษอีกต่อไป

ทำไมต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

ทำไมต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
จากที่ทราบกันดีถึงเรื่องวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของอเมริกา และวิกฤตหนี้ของประเทศจากยุโรป ซึ่งสาเหตุมาจากการขาดดุลการคลังและขาดดุลเงินสะพัด (ต้นตอก็มาจากรัฐ และประชาชนใช้จ่ายกันมากเกินไป จากการเป็นผู้บริโภคมาเสียนาน และได้มีการย้ายฐานการผลิต ไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า จึงทำให้ supply และ demand ภายในประเทศไม่เท่ากัน คล้ายๆกลายเป็นผู้นำเข้าอย่างเดียว ( demand สูงกว่า supply) จนเกิดวิกฤตขึ้น ที่นี้พอเกิดวิกฤตขึ้นทางอเมริกาก็ต้องเร่งอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อเร่งการส่งออก จึงทำให้ต้องปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เพื่อเพิ่มรายได้ในการส่งออก (รายได้หลักๆ มาจาก อาวุธ, เทคโนโลยี่ ) ประกอบการอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และนักลงทุนส่วนใหญ่ก็ไม่ถือเงินดอลลาร์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ด้อยค่าลง จึงทำให้มีการเคลื่อนย้ายทุนมาลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนการลงทุนในแถบเอเชียในช่วงนี้ถือเป็นเขตที่น่าลงทุน จากภาคการส่งออกก็ดี จากค่าแรงงานต่ำก็ดี จึงทำให้มีการย้ายฐานมาอยู่แถบเอเชียมานานพอควรแล้ว

จากผลดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ชาวต่างชาติไม่ถือเงินดอลลาร์ และย้ายเงินลงทุนมาซื้อเงินที่มีมูลค่ามากกว่า และสกุลเงิน "บาท" ของไทยก็ได้รับอานิสงฆ์เช่นเดียวกัน เห็นได้จาก fund flow กันไหลเข้าของทุนต่างชาิติตั้งแต่กลางปีที่แล้ว และยังเห็นอย่างต่อเนื่่อง จึงเป็นเหตุให้ มีแต่คนขายเงินดอลลาร์ และหันมาซื้อเงินไทยมากขึ้น (เงินบาทแข็ง) และเมื่อเงินไทยขาดสภาพคล่อง ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ทางรัฐจะต้องอัดฉีดและเร่งผลิตเงินบาทเข้าสู่ระบบ จึงเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น และแน่นอนเพื่อทำการสู้กับภาวะเงินเฟ้อทางรัฐก็จำเป็นที่ต้องเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้สมดุลกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นนั่นเอง

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หุ้นเครือสหพัฒน์

หุ้นเครือสหพัฒน์
กลุ่มแฟชั่น
1. BNC : บริษัท บางกอกไนล่อน จำกัด (มหาชน)
2. BTNC : บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน)
3. ICC : บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
4. NC : บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน)
5. NPK : บริษัท นิวพลัสนิตติ้ง จำกัด (มหาชน)
6. PAF : บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน)  
7. PG : บริษัท ประชาอาภรณ์ จำกัด (มหาชน)
8. TNL : บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน)
9. TPCORP : บริษัท เท็กซ์ไทล์เพรสทีจ จำกัด (มหาชน)
10. WACOAL : บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน)

กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
11. PB : บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) แตกพาร์แล้ว
12. PR : บริษัท เพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) แตกพาร์แล้ว
13. TF : บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) แตกพาร์แล้ว


กลุ่มของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
14. OCC : บริษัท โอ ซี ซี จำกัด (มหาชน)
15. S & J : บ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)  

กลุ่มพาณิชย์
16. SPC : บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)  
17. SPI : บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

กลุ่มพลังงาน
18. SCG : บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน)  

กลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค
19. IFEC : บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน)

กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์
20. FE : บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน)

จุดกลับของกราฟ Ticon พรุ่งนี้มันจะมา

จุดกลับของกราฟ Ticon พรุ่งนี้มันจะมา

 

คลังบทความของบล็อก Share Super Stock