หน้าแรก

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 2 : สภาวะการแข่งขันและปัจจัยเสี่ยง

วิเคราะห์หุ้นปันผลทุกไตรมาส DCC ตอนที่ 2 : สภาวะการแข่งขันและปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยง


1. ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
เนื่องจากในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมาภูมิอากาศในประเทศไทยมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก ในช่วงครึ่งปีแรกจะประสพกับภาวะภัยแล้ง และอุทกภัยในครึ่งปีหลัง ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตและราคาทางการเกษตรมีความแปรปรวน บริษัทจึงมีนโยบายที่จะขยายตลาดเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ รวมไปถึงการป้องกันทรัพย์สินของบริษัท ตามสาขาต่างๆด้วย
2. ความเสี่ยงจากราคาต้นทุนพลังงาน
การที่ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระเบื้องเซรามิค มีความผันผวน ตามราคาน้ำมันเตา และน้ำมันโลก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเปลี่ยนไปจากที่ประมาณการไว้ แต่บริษัทมีนโยบายปรับปรุงขบวนการผลิต โดยเฉพาะในทางวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุน ในการใช้พลังงาน ทั้งปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
3. ความเสี่ยงจากกระเบื้องนำเข้า
ในปี 2552 กระเบื้องนำเข้าจากประเทศจีนนั้น มีมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาท และในปี 2553 กระเบื้องนำเข้าจากจีน มีมูลค่ากว่า 3.7 พันล้านบาท ซึ่งการขยายตัวครั้งนี้เกิดจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ได้ขยายกิจการโดยการสร้างคอนโดมินี่ยมในตัวเมืองสูงเพิ่มจากปีก่อนเป็นเท่าตัว ซึ่งทำให้ตลาดกระเบื้องเซรามิคในเมืองมีความเสี่ยง ทางบริษัทมีแผนการยายรูปแบบของสินค้ากระเบื้องเซรามิค อยู่ 2 ทาง ดังต่อไปนี้
การผลิตกระเบื้องเจียรขอบซึ่งจะมีลักษณะคล้าย กับกระเบื้องนำเข้า หรือ แกรนิตโต้ ซึ่งสามารถปูชิดติดกันได้ แต่เนื่องจาก ต้นทุนในการผลิตยังคงสูง บริษัทยังคงต้องพัฒนาต่อไปจนกว่าจะได้ต้นทุนที่ต่ำตามต้องการ
การผลิตกระเบื้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ปัจจุบันทางบริษัทมีกระเบื้อง 4 ขนาด ได้แก่ 8x8” , 8x10” 12x12” และ16x16” ซึ่งในสภาพตลาดปัจจุบัน ความต้องการของกระเบื้องมีการใช้กระเบื้องในขนาดที่ใหญ่ขึ้น บริษัทจึงวิจัยพัฒนาเพื่อเตรียมการที่จะผลิตกระเบื้องที่มีขนาด 24x24” ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับกระเบื้องนำเข้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในตัวเมืองได้ดีขึ้น
4. ความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่ง
เนื่องจากสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าหนัก และต้นทุนค่าขนส่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องจากภาวะความไม่สงบในประเทศลิเบีย บริษัทจึงมีนโยบายปรับปรุงการขนส่งโดยการวางแผนเส้นทางการขนส่งให้มีระยะทางที่สั้นที่สุด และระยะทางที่ถูกที่สุดรวมไปถึงการใช้รถขนส่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งบริษัทคาดว่าจะสามารถความคุมต้นทุนการขนส่งไว้ได้

สภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
ในปี 2553 ที่ผ่านมาจากยอดขายในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 จะสังเกตเห็นได้ว่ายอดขายของบริษัทฯได้สร้างสถิติใหม่ขึ้นอีกครั้ง ปัจจัยบวกหลักๆเนื่องมาจากราคาสินค้าทางการเกษตรที่ดีขึ้น ในเดือนมีนาคม ราคาน้ำตาลได้ขึ้นสูงที่สุดในรอบ 25 ปี ถึงแม้ว่าราคาข้าวจะปรับตัวลงประมาณร้อยละ 10 ก็ตาม แต่เกษตรกรยังสามารถขายข้าวได้เป็นจำนวนมากเนื่องมาจากภัยธรรมชาติในประเทศผู้ผลิตทำให้ความต้องการในต่างประเทศสูงขึ้น 
จากความต้องการของกระเบื้องที่สูงขึ้นมากในไตรมาสแรกนั้นทำให้กำลัการผลิตของบริษัทฯไม่เพียงพอต่อความต้องการ และก็เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าทางบริษัทฯจะสามารถปรับราคาขายขึ้นได้ จากราคาขายเฉลี่ยที่ 125 บาทต่อตารางเมตร ทางบริษัทฯได้ปรับขึ้นเป็น 129 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งส่งผลให้ Gross Marginปรับตัวสูงขึ้นด้วยปัญหาจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนั้นก็ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ปรากฏการณ์La Nina ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมทำให้มีฝนตกชุกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่ได้ผลกระทบหนักเมื่อมีฝนบวกกับน้ำที่ไหลมารวมกันทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมสูงกว่า 5 เมตรอย่างไรก็ตาม ปัญหาจากภัยธรรมชาติในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนเกษตรกรไทยสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว

          แต่เนื่องจากอุทกภัยในปี 2553 นั้นเป็นครั้งที่รุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ จึงทำให้การฟื้นตัวของภาคเกษตรเป็นไปอย่างช้า ผลกระทบที่ทางบริษัทได้รับคือ 6 สาขาต้องปิดทำการ2-4 วัน และ มีกล่องกระเบื้องที่เปียกน้ำเสียหายประมาณ 100,000 ตาราเมตร ซึ่งทางบริษัทได้จัดลดราคาเพื่อระบายสินค้าผลลัพธ์จากอุทกภัยทำให้เป้าหมายการเจริญเติบโตของยอดขายที่ตั้งไว้ 15%เหลือเพียง 11% จากครึ่งปีแรกที่บริษัทมีการเจริญเติบโตกว่า 19% อย่างไรก็ตาม บริษัทฯได้สามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นจาก 42.5% มาอยู่ที่ 44.2% ได้ จึงทำให้กำไรสุทธิสูงขึ้น 18%เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,175 ล้านบาทสภาพตลาดกระเบื้องโดยรวมแล้วมีการเจริญเติบโตอย่างมากในไตรมาสที่สี่ของปี 2552 ต่อเนื่องมาถึงไตรมาสที่สองในปี2553 ปัจจัยหลักคือราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบวกกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีการขยายตัวทำให้ประชาชนมีสภาพคล่องมากขึ้น ปัญหาการว่างงานลดลงเป็นลำดับสังเกตง่ายๆจากแรงงานไทยนั้นเริ่มที่จะหายากมากขึ้น ในภาพรวมของตลาดกระเบื้องในประเทศไทยในปี 2553 มีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นประมาณ 9% ส่วนใหญ่แล้วเพิ่มขึ้นมาจากครึ่งปีแรกและมาชะลอตัวในครึ่งปีหลัง สำหรับทางบริษัทฯเองนั้นมีการเจริญเติบโตที่มากกว่าตลาดรวมประมาณ 2% แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทฯได้มีการเข้าไปแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาดมากขึ้น  แผนภาพด้านล่างเป็นสัดส่วนของตลาดรวมทั้งหมดที่อยู่ใน set คือรวมกระเบื้องส่งออกด้วยแต่ในประเทศไทยมีผู้ผลิตกระเบื้อง 7 ราย ซี่งอีก 3 ราย นั้นไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ตามข้อมูลที่ประเมินนั้นทางบริษัทฯมีส่วนแบ่งทางตลาดที่ 32% ซึ่งถือว่าเป็นอันดับหนึ่ง ส่วน 44% จะเป็นของบริษัทฯที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์อีก 3 แห่ง แต่ถ้าแยกเฉพาะตลาดในประเทศส่วนแบ่งของไดนาสตี้จะเพิ่มเป็น 40% เพราะไดนาสตี้นั้นมีสัดส่วนการส่งออกเพียงแค่ 4% เนื่องจากความต้องการภายในประเทศที่ยังคงสูง ประกอบกับอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีกว่าบริษัทฯจึงยังคงเน้นที่จะขายในประเทศเป็นหลักทางบริษัทฯมีการเพิ่มกำลังการผลิตถึงสองเตาและปรับปรุงประสิทธิภาพหนึ่งเตาในปี 2553 เพื่อที่จะเตรียมสินค้าไว้จำหน่ายให้พอเพียงกับความต้องการของตลาดที่มากขึ้น ซึ่งการเพิ่มกำลังการผลิตนั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงเนื่องมาจาก Economy of scale ทำให้ทางบริษัทสามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น หรือ มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสูงขึ้นในด้านราคาขายตลอดทั้งปีแล้วทางคู่แข่งก็มีการปรับลดราคาลงมาบ้างโดยเฉพาะในครึ่งปีหลัง แต่ทางบริษัทฯได้เน้นไปทางกิจกรรมส่งเสริมการขายเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้สามารถเพิ่มราคาขายได้กว่าปีก่อนถึง 4 บาท ต่อตารางเมตร

ความคิดเห็นของผู้เขียน
ภัยธรรมชาติช่วงนี้ก็มีมาเืืรื่อยๆ ซึ่งก็อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อการผลิต DCC ไม่ใช่น้อย (แต่ก็สุดจะคาดเดา) และต้นทุนทางพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้กำไรขั้นต้นก็น้อยลงไป แต่ดูจากบทความแ้ล้วทาง DCC เองก็ได้มีการพัฒนาและวิจัย ต้นทุนการผลิต ,ด้านขนส่ง, และผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ที่ดีต่อตัวบริษัท ( 1 ใน 13 ข้อ ตามหลักการวิเคราะห์หุ้นของ philip fisher ที่บริษัทยังคงมีการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ )  แต่ถ้าหากมองทางด้านตลาดของ DCC ยังเป็นตลาดล่างอยู่ ซึ่งอาจจะลำบากในการเติบโตในส่วนของตลาดระดับกลางและระดับบน ( แต่บริษัทหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องเจาะตลาดทุกระดับเสมอไป ซึ่งอาจจะเป็นการเสี่ยงทำให้ขาดทุนได้ ถ้าหากไม่มีความชำนาญพอ) และยังเป็นตลาดสำหรับการ replace สินค้า มากกว่าตลาดสินค้าใหม่ คือ ลูกค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อไป จะซื้อกระเบื้องสำหรับการซ่อมแซ่มมากกว่าปูกระเบื้องใหม่ อันนี้ก็เป็นปััจจัยหนึ่งในด้านการตลาดที่ต้องปรับปรุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น