หน้าแรก

ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ตอนที่ 1

เริ่มต้นกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ตอนที่ 1

Value ของกลุ่มพลังงานจะอยู่ประมาณ 80% ของตลาดหุ้นในประเทศไทย ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น
1. น้ำมัน  ยังแบ่งออกเป็น
  • ต้นน้ำ = สำรวจและค้นหา( pttep เจ้าเดียว )
  • ผลิต = โรงกลั่น ( top, irpc, bcp, esso ฯลฯ ) 
    การกลั่นยังแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ โรงกลั่นแบบธรรมดา ( bcp ) กับ โรงกลั่นแบบ complex ( top ) ซึ่งการกลั่นแบบ complex จะสามารถกลั่นน้ำมันดิบ มาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปได้มากกว่า เนื่องจากสามารถนำกากที่เหลือมากลั่นเพิ่มได้ จึงทำให้ยอดผลผลิตสูงกว่า
ค่า spread  คือ ราคาขายน้ำมันหน้าร้าน - ราคาต้นทุนน้ำมันดิบ

ค่าการกลั่น คือ ค่ากำไรของการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูป ยิ่งสูง (ได้จำนวนเยอะๆ ) แสดงว่ากำไรยิ่งสูง


2.ถ่านหิน ยังแบ่งออกเป็น
  • มีเหมืองของตัวเอง = banpu , lanna
  • นำเข้าเป็นหลัก = age, earth, ums
ไม่่ค่อยมีตลาดซื้อล่วงหน้า ดังนั้นจะเป็นลักษณะซื้อขายระยะยาว

3. กลุ่มแปรรูป เช่น gunkul ,ai





4. พวกสาธารณูปโภค เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า , น้ำประปา



ใช้ DCF กับ EBITDA ในการเลือกหุ้น และวิเคราะห์มูลค่า

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Nim = Net interest margin ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ กับ หุ้นธนาคาร

Nim = Net interest margin ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ กับ หุ้นธนาคาร

รายได้หลักของธนาคาร คือ Nim = Net interest margin = ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ
ธนาคาไหนมีเยอะ แสดงว่ากำไรน่าจะสูง เท่ากับปล่อยสินเชื่อสูง แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าสินเชื่อที่ปล่อยเป็นการให้สำหรับลูกค้าชั้นดีหรือไม่

และการปล่อยสินเชื่อจะ peek มากๆ ในไตรมาส 4 เนื่องจากช่วงนั้นจะเป็นช่วง build การปล่อยสินเชื่อเพื่อเร่งผลิต เร่งยอดขาย ของแต่ละอุตสาหกรรมสำหรับปีหน้า ดังนั้นการเลือกหุ้นธนาคารในช่วงนั้นก็น่าสนใจ และแถมปลายปี (ปลายปีจริงๆ แถวๆ เกือบๆ ปีใหม่) ช่วงนั้นยังมีเงินลงทุนพวกกองทุน LTF ,RTF เข้ามาอีก ยิ่งทำให้น่าสนใจสำหรับการลงทุนในกลุ่มนี้

ซึ่งรายได้อีกส่วนหนึ่งของธนาคารก็คือเรื่องค่าธรรมเนียม ซึ่งเราสามารถตัดเรื่องค่าธรรมเนียมไปได้เลย เพราะเป็นส่วนที่น้อยนิด แต่ยกเว้นค่าธรรมเนียมประกันที่​ธนาคารเป็นคนขาย เนื่องจากจะได้เรื่อยๆ

ดังนั้นเลือกหุ้นธนาคาร ควรเลือกหุ้นที่ปล่อยสินเชื่อเย​อะยิ่งดี คิดแบบดีถูกป่าว?

ศึกษาดุลการชำระเงิน

ศึกษาดุลการชำระเงิน
ดุลการชำระเงิน = ดุลที่เงินไหลเข้าประเทศ ยิ่งเป็น + = แสดงว่าเงินต่างประเทศไหลเข้า ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งกระทบการส่งออก ดังนั้นการเลือกหุ้นส่งออกควรที่จะดูงบดุลระดับมหภาคด้วย

ดุลการชำระเงิน = บัญชีเดินสะพัด + บัญชีเงินโอน/รับบริจาค + บัญชีทุน

บัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า(=ส่งออก - นำเข้า) + ดุลบริการ(=การท่องเที่ยว) *สำคัญมากเพราะเป็นบัญชีที่ใหญ่ที่สุดในการชำระเงิน ถ้าหากเป็น + แสดงว่าค่าเงินจะแข็ง

บัญชีเงินโอน/รับบริจาค = บริษัทต่างประเทศที่ลงทุนในต่างประเทศ และโอนปันผลให้บริษัทแม่ ทำให้ยอดเงินเข้าประเทศที่เป็นประเทศแม่

ซึ่งแน่นอนถ้าหากเรื่องดุลการชำระเงินของประเทศไหนเป็นบวกมากๆ ก็ย่อมทำให้อีกประเทศต้องขาดดุลการชำระเงิน ตัวอย่างเช่น อเมริกา กรีซ และยุโรปที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่ขาดดุลการชำระเงิน และประเทศที่ดุลการชำระเงินที่เห็นได้ชัดคือ จีน ซึ่งทางประเทศธุรกิจก็ยังเน้นการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีการตรึงค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า ซึ่งขัดกลับหลักที่ว่า เพราะจีนได้ประโยชน์จากการส่งออกเป็นจำนวนมาก และยังได้เปรียบจากค่าเงินอีก ดังนั้นจึงเป็นที่มาให้ประเทศฝั่งยุโรปกดดันให้จีนแข็งค่าเงินหยวน เพื่อให้เป็นไปตามกลไกของค่าเงิน

ดังนั้นการลงทุนควรจะมองระดับมหภาคด้วยนะครับ