หน้าแรก

ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หุ้นผีบอกกับซุปตาร์หุ้น

หุ้นผีบอกกับซุปตาร์หุ้น

คือ การซื้อหุ้น ตามเซียน , ตามเจ้าเทคนิค, ตามคนดัง (ซุปตาร์หุ้น) เสมือนเป็นการ เพิ่ม "ต้นทุน" ให้เรา แต่ให้ "ทุน" กับพวกซุปตาร์หุ้น จริงหรือไม่?

คนดังบางคน พวกซุปตาร์หุ้นบางคน ตอนนี้พวกซุปตาร์หุ้นไม่ต้องเล่นหุ้นกันแล้ว แค่เปิดสัมมนาแชร์ประสบการณ์ที่เค้าเคยทำได้ ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ แค่นี้รายได้ของเค้า ก็รวยกว่าที่พวกซุปตาร์หุ้นเล่นหุ้นเป็นไหนๆ พวกซุปตาร์หุ้นก็ยิ่งมีทุนมากขึ้น และไงต่อ?

และเมื่อพวกซุปตาร์หุ้นใบ้หุ้นให้เรา ไม่ว่าจะเป็นทางแบบไหน พวกเราแห่กันไปซื้อตาม เกิดไรขึ้น? พวกพวกซุปตาร์หุ้นทั้งหลายซึ่งมีหุ้นอยู่ก่อนหน้าแล้ว ก็ยิ่งรวยไปใหญ่ และไงต่อ?

ที่นี้แหละครับ พวกซุปตาร์หุ้นก็ทำตัวเป็นเจ้าไปเสียเอง และก็เป็นที่มาของหุ้นผีบอก 555

ปล. เป็นหลักการคิดทางธุรกิจเท่านั้น ไม่ได้พาดพิงถึงใครนะครับ คือพอดีผมได้ศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจตัวหนึ่ง และมันจะเป็นลักษณะที่คล้ายๆแบบนี้จริงๆ  ก็เลยลองยกตัวอย่างเกี่ยวกับหุ้นดู และก็เอ๊ะๆ เอ๊ะๆ เฮ้ย!! ไอ้พวกนี้ก็หากินกับหุ้นด้วยนี่หว่า เหอะๆๆ

ปล2. ผมยังนับถืออาจารย์หลายท่านๆ เหมือนเดิมครับผม แต่แค่อยากให้เข้าใจหลักการธุรกิจชนิดหนึ่งก็เท่านั้นครับผม

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นักลงทุน คือ ความเสี่ยง

นักลงทุน คือ ความเสี่ยง

การลงทุนคือความเสี่ยง นี่คือคำตอบ ของเสียงส่วนใหญ่ของผู้อยู่นอกตลาด และนอกการลงทุน เป็นเสียงของผู้ต้องการความมั่นคง แต่เป็นความมั่นคงของรายได้ประจำ หรือรายได้จากการฝากเงินไว้กับธนาคาร ผู้ให้ดอกเบี้ย ต่ำกว่าเงินเฟ้อตลอด (ไม่ว่าจะดอกเบี้ยสูงเพียงใด ก็ยังต่ำกว่าเงินเฟ้อเสมอ ไม่งั้นธนาคารจะอยู่ได้อย่างไร จริงมั้ยครับ) ซึ่งเป็นสิ่งกัดกร่อนมูลค่าเงินของพวกเรา

การลงทุนคือความเสี่ยง ซึ่งจริงๆแล้ว การลงทุนไม่ใช่ความเสี่ยง แต่ที่สิ่งเสี่ยงเอง คือตัวนักลงทุน เนื่องจากนักลงทุนบางคน ลงทุนแบบนักพนัน แบบนักเก็งกำไร ลงทุนแบบที่คิดว่าตัวเองเป็นนักลงทุน เพราะมองว่าตัวเองลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ถือว่าเป็นการลงทุน แต่อย่าลืมว่า หลักทรัพย์ ไม่ใช่สินทรัพย์ เนื่องจาก หลักทรัพย์ที่ลงทุน อาจจะก่อให้เกิดสินทรัพย์ ก็ได้ ถ้าหากเราลงทุนและได้ผลตอบแทนออกมา แต่หลักทรัพย์ ก็ยังเป็นได้ทั้งหนี้สิน ที่เราลงทุนในหลักทรัพย์แล้ว เราขาดทุนออกมา นี่แหละเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วๆ ไปไม่เข้าใจ

การขาดเงินทุนทรัพย์ไม่ใช่สิ่งสำคัญ เท่ากับ การขาดเวลาในการศึกษาการลงทุน นักลงทุนที่คิดว่าตัวเองมีเวลาในการลงทุน โดยจดๆ จ้องๆ หน้าจอ ผ่านการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละวัน ในแต่ละชั่วโมง หรือแม้แต่ ในแต่ละวินาที ก็จะเป็นความเสี่ยงของตัวนักลงทุนเอง ซึ่งพวกเราต้องอย่าลืมว่า เราสามารถนำเวลาในการมอนิเตอร์หน้าจอ หันไปศึกษาข้อมูลการลงทุน เพื่อรอโอกาสในการลงทุน นั่นแหละคือความไม่เสี่ยง ในการลงทุน

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ตอนที่ 1

เริ่มต้นกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ตอนที่ 1

Value ของกลุ่มพลังงานจะอยู่ประมาณ 80% ของตลาดหุ้นในประเทศไทย ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น
1. น้ำมัน  ยังแบ่งออกเป็น
  • ต้นน้ำ = สำรวจและค้นหา( pttep เจ้าเดียว )
  • ผลิต = โรงกลั่น ( top, irpc, bcp, esso ฯลฯ ) 
    การกลั่นยังแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ โรงกลั่นแบบธรรมดา ( bcp ) กับ โรงกลั่นแบบ complex ( top ) ซึ่งการกลั่นแบบ complex จะสามารถกลั่นน้ำมันดิบ มาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปได้มากกว่า เนื่องจากสามารถนำกากที่เหลือมากลั่นเพิ่มได้ จึงทำให้ยอดผลผลิตสูงกว่า
ค่า spread  คือ ราคาขายน้ำมันหน้าร้าน - ราคาต้นทุนน้ำมันดิบ

ค่าการกลั่น คือ ค่ากำไรของการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูป ยิ่งสูง (ได้จำนวนเยอะๆ ) แสดงว่ากำไรยิ่งสูง


2.ถ่านหิน ยังแบ่งออกเป็น
  • มีเหมืองของตัวเอง = banpu , lanna
  • นำเข้าเป็นหลัก = age, earth, ums
ไม่่ค่อยมีตลาดซื้อล่วงหน้า ดังนั้นจะเป็นลักษณะซื้อขายระยะยาว

3. กลุ่มแปรรูป เช่น gunkul ,ai





4. พวกสาธารณูปโภค เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า , น้ำประปา



ใช้ DCF กับ EBITDA ในการเลือกหุ้น และวิเคราะห์มูลค่า

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Nim = Net interest margin ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ กับ หุ้นธนาคาร

Nim = Net interest margin ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ กับ หุ้นธนาคาร

รายได้หลักของธนาคาร คือ Nim = Net interest margin = ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ
ธนาคาไหนมีเยอะ แสดงว่ากำไรน่าจะสูง เท่ากับปล่อยสินเชื่อสูง แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าสินเชื่อที่ปล่อยเป็นการให้สำหรับลูกค้าชั้นดีหรือไม่

และการปล่อยสินเชื่อจะ peek มากๆ ในไตรมาส 4 เนื่องจากช่วงนั้นจะเป็นช่วง build การปล่อยสินเชื่อเพื่อเร่งผลิต เร่งยอดขาย ของแต่ละอุตสาหกรรมสำหรับปีหน้า ดังนั้นการเลือกหุ้นธนาคารในช่วงนั้นก็น่าสนใจ และแถมปลายปี (ปลายปีจริงๆ แถวๆ เกือบๆ ปีใหม่) ช่วงนั้นยังมีเงินลงทุนพวกกองทุน LTF ,RTF เข้ามาอีก ยิ่งทำให้น่าสนใจสำหรับการลงทุนในกลุ่มนี้

ซึ่งรายได้อีกส่วนหนึ่งของธนาคารก็คือเรื่องค่าธรรมเนียม ซึ่งเราสามารถตัดเรื่องค่าธรรมเนียมไปได้เลย เพราะเป็นส่วนที่น้อยนิด แต่ยกเว้นค่าธรรมเนียมประกันที่​ธนาคารเป็นคนขาย เนื่องจากจะได้เรื่อยๆ

ดังนั้นเลือกหุ้นธนาคาร ควรเลือกหุ้นที่ปล่อยสินเชื่อเย​อะยิ่งดี คิดแบบดีถูกป่าว?

ศึกษาดุลการชำระเงิน

ศึกษาดุลการชำระเงิน
ดุลการชำระเงิน = ดุลที่เงินไหลเข้าประเทศ ยิ่งเป็น + = แสดงว่าเงินต่างประเทศไหลเข้า ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งกระทบการส่งออก ดังนั้นการเลือกหุ้นส่งออกควรที่จะดูงบดุลระดับมหภาคด้วย

ดุลการชำระเงิน = บัญชีเดินสะพัด + บัญชีเงินโอน/รับบริจาค + บัญชีทุน

บัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า(=ส่งออก - นำเข้า) + ดุลบริการ(=การท่องเที่ยว) *สำคัญมากเพราะเป็นบัญชีที่ใหญ่ที่สุดในการชำระเงิน ถ้าหากเป็น + แสดงว่าค่าเงินจะแข็ง

บัญชีเงินโอน/รับบริจาค = บริษัทต่างประเทศที่ลงทุนในต่างประเทศ และโอนปันผลให้บริษัทแม่ ทำให้ยอดเงินเข้าประเทศที่เป็นประเทศแม่

ซึ่งแน่นอนถ้าหากเรื่องดุลการชำระเงินของประเทศไหนเป็นบวกมากๆ ก็ย่อมทำให้อีกประเทศต้องขาดดุลการชำระเงิน ตัวอย่างเช่น อเมริกา กรีซ และยุโรปที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่ขาดดุลการชำระเงิน และประเทศที่ดุลการชำระเงินที่เห็นได้ชัดคือ จีน ซึ่งทางประเทศธุรกิจก็ยังเน้นการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีการตรึงค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า ซึ่งขัดกลับหลักที่ว่า เพราะจีนได้ประโยชน์จากการส่งออกเป็นจำนวนมาก และยังได้เปรียบจากค่าเงินอีก ดังนั้นจึงเป็นที่มาให้ประเทศฝั่งยุโรปกดดันให้จีนแข็งค่าเงินหยวน เพื่อให้เป็นไปตามกลไกของค่าเงิน

ดังนั้นการลงทุนควรจะมองระดับมหภาคด้วยนะครับ